Monday, December 11, 2006

มาซื้อบ้านมือสองกันดีกว่า



มาซื้อบ้านมือสองกันเถอะ
บ้านมือสองที่เราสามารถพบได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ บ้านของประชาชนทั่วไป และบ้านที่เป็นทรัพย์สินของธนาคาร (NPA) ในที่นี้เราจะแนะนำให้ท่านรู้จักกับทรัพย์ที่เป็นของธนาคารทั้งหลาย มีอยู่ครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น บ้านเดี่ยว ที่ดิน ทาวน์เฮาส์ อาคารพาณิช โรงงาน

ทรัพย์สินของธนาคารเหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
บางท่านอาจจะทราบแล้วบางท่านอาจจะยังไม่ทราบ ก็คือว่าธนาคารมีธุรกรรมทางการเงินอยู่ประเภทหนึ่งคือ การให้สินเชื่อ ในการที่ประชาชน นักธุรกิจต่างๆ จะขอสินเชื่อกับทางธนาคารนั้น จะต้องมีหลักประกันในการขอสินเชื่อนั้นๆ ตัวอย่างหลักประกันเช่น เงินสด,พันธบัตรรัฐบาล,บุคคลค้ำประกัน,ที่ดิน,ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง (ส่วนใหญ่จะรับหลักประกันที่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ โฉนด)
เมื่อธนาคารพิจารณาสินเชื่อของผู้ขอในด้านต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ถ้าผ่านการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารจะนัดลงนามสัญญาเงินกู้และนัดจดจำนองซึ่งต้องทำต่อเจ้าพนักงานที่ดิน (กรณีที่ดิน,ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง) ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความสุขกันทั้งสองฝ่าย ทั้งธนาคารและผู้กู้
ระยะต่อมา เมื่อลูกค้าผู้กู้เกิดขาดส่งค่างวด จนถึงขั้นตอนการดำเนินคดี และในที่สุดศาลก็ได้มีคำพิพากษาให้จำเลยขดใช้เงินกู้กับธนาคาร ถ้าจำเลยไม่ชำระก็จะยึดทรัพย์นั้น และนำขายทอดตลาด (ซี่งจะมีขั้นตอนตามกฏหมายมากมาย ต้องไปศึกษาเอาเอง)
เอาละครับเราได้รู้ที่มาของทรัพย์กันมาแล้ว ที่นี้เรามาหาซื้อทรัพย์นั้นกันดีกว่า

เราจะซื้อทรัพย์ของธนาคารได้ด้วยวิธีการและ ช่องทางใดได้บ้าง
วิธีที่ 1.เมื่อทางกรมบังคับคดีประกาศขายทอดตลาด จะมีหนังสือจำหน่ายหรือแจกฟรี หรือสามารถติดต่อได้ที่กรมบังคับคดีโดยตรง หรือ ที่ www.led.go.th ซึ่งจะต้องใช้วิธีการประมูลขายทอดตลาด อาจต้องมีเงินสดไปวางก่อนเข้าประมูล ประมาณ 50,000 บาท และทางผู้ซื้อต้องรับภาระในกรณีที่มีผู้อยู่อาศัยในทรัพย์ ซึ่งแต่ก่อนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมาก แต่ปัจจุบันมีกฏหมายรองรับ โดยสามารถใช้คำพิพากษาของศาลเพ่งมาบังคับคดี ขับไล่ผู้อาศัยได้เลย ก็อาจต้องมีเสียค่าใช้จ่ายอีกนิดหน่อย
วิธีที่ 2 ซึ้อจากธนาคารโดยตรง ตามข้อหนึ่ง ธนาคารเจ้าของทรัพย์ ( โจทย์) ก็จะค่อยจับตาดูว่าราคาที่ขายกันนั้นคุ้มกับยอดหนี้หรือเปล่า เพราะกรณีที่กรมบังคับคดีขายทอดตลาดโดยการประมูล และการประมูลจะมีหลายครั้ง ถ้าครั้งแรกไม่มีคนเข้าเสนอราคา ก็จะนำมาประมูลครั้งที่สอง ซึ่งราคาจะต่ำลงมาเรื่อยๆ (ดูได้จากประกาศกรมบังคับคดี ซึ่งจะติดที่ตัวทรัพย์สินนั้นด้วย) ครั้งที่สองไม่มีใครเสนอราคาก็จะไปครั้งที่สาม ก็ยิ่งต่ำกันไปใหญ่
กาณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ธนาคารก็จะส่งเจ้าหน้าที่ไปค่อยดูและให้ราคาขั้นต่ำที่จะสามารถขายได้ ถ้าต่ำมากๆ ธนาคารก็จะซื้อมาเอง นำมาบริหาร
ซึ่งเราก็จะสามารถติดต่อขอซื้อได้ (ธนาคารจะทำการประเมินราคา เพื่อตั้งราคาขาย ไม่เกี่ยวข้องกับยอดหนี้ค้าง)